จากที่เราทราบกัน ประวัติศาสตร์เปรูเริ่มขึ้นเมื่อผู้ตั้งถิ่นฐานกลุ่มแรกได้มาถึงเปรูเมื่อ 20,000 ปีก่อน มีความเชื่อว่าพวกเขามาจากทางตอนเหนือ ผ่านคอคอดปานามาเพื่อตามหาดินแดนใหม่ พวกเขาเป็นชนเผ่านักล่า เห็นได้จากภาพวาดในผนังถ้ำที่โตเกปาลา (เตกนา, 7600ปีก่อนคริสตศักราช)
เมื่อการเพาะปลูกถูกพัฒนาขึ้น การตั้งถิ่นฐานและวัฒนธรรมแรก ๆ ก็เริ่มปรากฎให้เห็น จากการสำรวจล่าสุด พบว่าอารยธรรมแรกที่เกิดขึ้นในเปรู คือ การัล (Caral) ซึ่งได้รับการพิจารณนาว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปอเมริกา ซึ่งเป็ช่วงเวลาประมาณ 5,000 ปีก่อน ในขณะที่การพัฒนาของเมืองอื่น ๆ ในทวีปอเมริกาเริ่มขึ้นเมื่อ 1,550 ปีก่อน การค้นพบครั้งนี้ ได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อก่อนหน้าเกี่ยวเรื่องการอพยบเข้ามาของชาวเปรู จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ชาบิน เด วานตาร์ (Chavín de Huántar) ได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในจุดที่น่าสนใจทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุด โดยย้อนกลับไปอย่างมาก 1,500 ปีก่อนคริสตกาล
หลังจากการัล วัฒนธรรมแถบแอนดีสขยายตัวไปยังที่ต่าง ๆ ในเปรู และได้สร้างประชากรซึ่งทิ้งความมั่งคั่งทางโบราณคดีและมรดกทางวัฒนธรรมไว้ให้
แต่ละวัฒนธรรมก่อนยุคอินคามีระดับการพัฒนาของตน แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการพัฒนาในด้านการเพาะปลูก อาหาร สิ่งทอ การจัดระบบสังคม และรวมไปถึงศิลปะ บทบาทของเมืองในยุคก่อนอินคาสามารถอธิบายได้ว่าพวกเขาได้ร่วมสร้างส่วนหนึ่งของกระบวนการทางวัฒนธรรมอันยาวนานซึ่งเริ่มต้นจากการัลและดำเนินต่อไปโดยจักรวรรดิอินคา
จักรวรรดิอินคา (1200-1500 ปีหลังคริสตกาล) เป็นอารยธรรมที่สำคัญที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ โดยตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของหุบเขาแม่น้ำบิลกาโนตา จักรวรรดิอินคาแสดงถึงจุดสูงสุดของการพัฒนาทางวัฒนธรรมในระยะเวลากว่า 5000 ปี เนื่องจากระบบการจัดการทางการเมืองของอินคาอยู่ในระดับสูง มีการกำหนดระบบการกระจายรายได้ และมีการพัฒนาทางด้านสถาปัตยกรรมและการเพาะปลูกที่ดีเยี่ยม จึงทำให้จักรวรรดิอินคาได้รับการพิจารณาให้เป็นรัฐรัฐหนึ่ง
จักรวรรดิอินคายังเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งคือ "ตาวานตินซูโย" ซึ่งเป็นต้นกำเนิดและเมืองหลวงของเมืองกุสโก จักรวรรดิอินคาเฟื่องฟูในแถบเทือกเขาแอนดีส โดยขอบเขตของอาณาจักรครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่โคลอมเบีย ชิลี และอาร์เจนตินาในปัจจุบัน รวมไปถึงพื้นที่ทิ้งหมดของโบลิเวียและเอกวาดอร์
ประชากรชาวอินคาส่วนใหญ่นับถือพระแม่ธรณี (ปาชามามา) และดวงอาทิตย์ (อินติ) พวกเขาเชื่อว่าพระราชาหรือหัวหน้าของพวกเขา เป็นร่างอวตารและเป็นบุตรแห่งดวงอาทิตย์
ชาวอินคา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์บริเวณพื้นที่ในอาณาจักรของพวกเขาเอง พวกเขาสามารถเข้าถึงเทคนิคการวางโครงสร้างสร้างสถานที่ ป้อมปราการขนาดใหญ่ที่มีหินเป็นฐาน ซึ่งหินเป็นทรัพยากรที่หาได้ในภูมิประเทศรอบ ๆ อาณาจักร ตัวอย่างสถานที่เหล่านั้น ได้แก่ มาชูปิคชู โชเกกีราโอ และซาคซาวานมาน
สังคมอินคาไม่มีภาษาเขียน ด้วยเหตุผลบางประการชาวอินคาไม่มีการบันทึกหรือแม้แต่ระบุวันที่เกี่ยวกับประชากร เหตุการณ์หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ของพวกเขา โดยหลัก ๆ แล้วข้อมูลและประวัติศาสตร์ของชาวอินคาได้มาจากการศึกษาและตีความทางโบราณคดี งานฝีมือ งานจิตกรรม และศิลปะ ของนักโบราณคดี
วัฒนธรรมอินคาและวัฒนธรรมยุโรปมาบรรจบกันในช่วงศตวรรษที่ 16 เมื่อเหล่านักล่าอาณานิคมชาวสเปนได้เข้ามาถึง ในปี ค.ศ.1532 กองทัพของฟรานซิสโก ปิซซาโร จับตัวกษัตริย์อาตาวาลปา (กษัตริย์ของชาวอินคา) ในเมืองกาคามาร์กา ซึ่งการขับตัวในครั้งนี้ คือจุดสิ้นสุดของอาณาจักรอินคา
ในปี 1542 ได้เกิดเขตอุปราชเปรูขึ้น ซึ่งหมายถึงการเป็นบริเวณที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิสเปน เขตอุปราชเปรูครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างในทวีปอเมริกาใต้ และดำรงอยู่กว่า 200 ปีภายใต้ระบอบเผด็จการหลากหลายรูปแบบ ในศตวรรษที่ 16 เขตอุปราชเปรูได้ถูกทำให้มั่นคงขึ้นโดยขุนนางที่ชื่อฟรานซิสโก เด โตเลโด ขุนนางฟรานซิสโกเป็นผู้วางรากฐานทางเศรษฐกิจของอาณานิคม โดยใช้ระบบการควบคุมใช้ชาวพื้นเมืองทำงานฝีมือและงานในเหมืองแร่ ซึ่งระบบนี้มีชื่อว่า "มิตา"
การทำเหมืองแร่ของชนชั้นสูงส่งผลกระทบในด้านลบต่อชนพื้นเมืองเปรูที่อยู่ภายใต้การปกครอง ชาวพื้นเมืองมองว่าพวกเขาถูกจำกัดสิทธิและถูกควบคุมทางวัฒนธรรม การปฏิวัติในศตวรรษที่ 18 ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากแก่หลาย ๆ ฝ่ายในสังคม และเป็นการจุดประกายให้นักปฏิรูป นักปฎิรูปชาวพื้นเมืองคนสำคัญคือ ตูปาค อามารู ที่ 2 ซึ่งผู้ปลุกกระแสกรีโอโย ที่นำไปสู่การผลักดันเพื่ออิสรภาพของอาณานิคมต่าง ๆ ของสเปนในทวีปอเมริกาในเวลาถัดมา
ในปี ค.ศ.1821 เปรูได้ประกาศอิสรภาพโดย โฆเซ่ เด ซาน มาร์ติน และในปี ค.ศ. 1824 ซิมอน โบลิวาร์ ได้ยุติการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพด้วยการทำสงครามเพื่ออิสรภาพ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นประเทศใหม่ หลายปีแรกเปรูเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและรัฐบาลทหาร ซึ่งทำให้ยากต่อการสร้างความมั่นคงให้แก่ความเป็นชาติใหม่ ที่ประกอบไปด้วยประชากรชาวพื้นเมืองและประชากรลูกผสม
ในด้านของเศรษฐกิจ มีความฟุ้งเฟื่องในผลิตผลขี้ค้างคาว ผ้าฝ้าย และน้ำตาล การเลิกทาสเกิดขึ้นกลางศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงเวลาเดียวกับการเริ่มอพยบเข้ามาทำการเกษตรของชาวจีน และตามมาด้วยรัฐบาลมานูเอล ปาร์โด ซึ่งเป็นรัฐบาลพลเรือนชุดแรก ในขณะเดียวกันนั้นเอง จุดจบของความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของผลิตผลขี้ค้างคาวก็มาถึง เนื่องจากผลิตผลขี้ค้างคาวเป็นรายได้หลักของประเทศ จึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจระดับชาติตามมา
ในปี ค.ศ. 1879 เปรูเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามกับชิลี การล้มละลายที่เป็นผลจากสงครามครั้งนี้นำเปรูเข้าสู่ยุคของรัฐบาลทหาร ตามมาด้วยการกลับมาของการเข้ามามีอำนาจของพลเมือง หลังจากนั้นช่วงเวลาแห่งสาธารณรัฐขุนนางก็ได้เริ่มต้นขึ้น โดยมีพื้นฐานมาจากการครอบครองที่ดินของเหล่าบรรดาขุนนางและชนชั้นสูงในสังคม ในช่วงเวลานี้ ผลผลิตยางในป่าพุ่งขึ้นถึจุดสูงสุด จึงเกิดช่วงว่างทางสังคมระหว่างนายทุนชนชั้นสูงและประชากรทั่วไปที่เหลือซึ่งส่วนใหญ่ประชากรเหล่านี้ไม่มีที่ดินอยู่อาศัย
ระหว่างปี ค.ศ.1970 เปรูถูกปกครองโดยระบอบเผด็จการทหาร นำโดย นายพล ฆวน บาลาสโก คณะรัฐมนตรีทหาร ทำให้น้ำมันและสื่อตกเป็นของรัฐ และเกิดการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเจ้าของที่ดินทำการเกษตรอย่างมาก
ในช่วงปี ค.ศ. 1980 รัฐบาลประชาธิปไตยกลับคืนมา แต่ประเทศกลับตกอยู่ในวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่แสนสาหัสด้วยสภาวะเงินเฟ้อ ในเวลาเดียวกัน เกิดการเคลื่อนไหวด้านการก่อการร้าย 2 การเคลื่อนไหว นำประเทศเข้าสู่ความรุนแรงเป็นเวลา 20 ปี
ในปีช่วงปี ค.ศ. 1990 อัลเบรโต ฟูจิโมริ หลังทำรัฐประหารตนเองในปี 1992 ได้ออกชุดกฎหมายที่นำมาซึ่งจุดจบของการก่อการร้าย นำประเทศกลับเข้าสู่การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโลกอีกครั้งนับจากการถอนตัวในปี 1980 ที่มาจากการตัดสินใจไม่จ่ายหนี้ต่างประเทศ และต่อมาในปี ค.ศ. 2000 เปรูได้มีรัฐบาลประชาธิปไตย นำโดย อเลฆานโดร โตเลโด, อะลาน การ์เซีย, โอเลียนตา อูมาลา ตาสโซ, เปโดร ปาโบล คูชินสกี้ มาร์ติน บิซการ์รา และปัจจุบัน ฟรานซิสโก ซากาสติ (2020-2021) ปัจจุบันประเทศกำลังอยู่ในช่วงที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงระดับที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาของเปรู และได้เอาชนะวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอดีต
สถานเอกอัครราชทูตเปรูประจำประเทศไทย
ชั้น 16 อาคารกลาสเฮาส์
สุขุมวิท 25, วัฒนา ,
กทม.,10110
ประเทศไทย